พระปิดตาหลวงปู่จัน วัดโมลี สุดยอดพระเครื่องในตำนาน พระปิดตามหาอุตม์ ไม่เพียงแต่เป็นพระปิดตาที่ปั้นหุ่นทีละองค์ เส้นสายต่างๆ ตลอดจนขนาดที่ไม่เท่ากัน แต่มีความละม้ายคล้ายคลึงกัน เป็นพระปิดตาแบบเดียวที่ใช้แร่เหล็กมาถลุงหลอมเทเป็นองค์พระและเป็นยอดแห่งพระปิดตา มหาอุตม์เนื้อโลหะของนนทบุรี วันนี้ ส่องพระเครื่อง เมืองสยาม ขอเล่าประวัติพระรุ่นนี้ให้เซียนพระสายมาหาอุตม์ ได้ศึกษากัน
ตำนานพระปิดตามหาอุตม์ธาตุโลหะ
มีประวัติเล่าขานกันมาว่า จากแรงศรัทธาของอุบาสก อุบาสิกาท่านหนึ่ง ได้สละปิ่นปักมวยผมออกขาย นำเงินมาสร้างวัด เป็นเหตุให้ได้ชื่อว่าวัดโมลี และใช้ปิ่นปักมวยผมเป็นสัญลักษณ์ของวัดมาตลอด
วัดโมลี สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเจ้าอาวาสรูปแรกมีชื่อว่า เถื่อน ซึ่งต่อมาได้ลาสิกขา และเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 3 นั้นเอง ที่สร้างชื่อเสียงเรียงนามให้กับวัดโมลีแห่งนี้ ซึ่งก็คือ หลวงปู่จัน กล่าวกันว่า หลวงปู่จันเป็นพระภิกษุชาวเขมรที่ธุดงค์ผ่านมาจำพรรษาที่วัดโมลี กระทั่งได้เป็นเจ้าอาวาสวัดในที่สุด
หลวงปู่จัน ชอบเล่นแร่แปรธาตุ เพื่อหาธาตุโลหะอันศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งในที่สุดเมื่อท่านค้นพบ แร่บางไผ่ ซึ่งแร่ชนิดนี้อยู่ในน้ำตามคลองบางไผ่ ท่านก็ได้นำเอามาใส่ตุ่มแช่น้ำไว้ข้างกุฏิของท่าน ว่ากันว่าท่านได้เลี้ยงแร่ไว้ในตุ่ม ซึ่งต้องใช้คาถากำกับเพื่อให้ตัวแร่งอกเพิ่มจำนวน
หลวงปู่จัน ท่านยังได้ออกตามหาแร่บางไผ่อีกตลอด ได้บ้างไม่ได้บ้าง จนในที่สุดแร่ในคลองบางไผ่ก็หายไปหมดไม่พบอีก ท่านจึงได้เข้าสมาธิดูก็รู้ว่า แร่ย้ายตัวเองหนีไปอยู่ที่คลองบางคูรัด ท่านก็ได้ตามไปและพบแร่ชนิดนี้อีกจำนวนหนึ่ง ท่านก็ได้นำมารวบรวมไว้ในตุ่มน้ำ จนมีจำนวนพอที่จะสร้างพระได้
ท่านจึงได้เริ่มสร้างพระปิดตาเป็นองค์พระภควัม หรือ พระปิดตาแร่บางไผ่ ในลักษณะที่ปิดทวารทั้ง 9 หรือที่เรียกกันว่า พระปิดตามหาอุตม์ เป็นพระปิดตาที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ในปี พ.ศ.2425 โดยท่านจะให้พระและลูกศิษย์ของท่านปั้นหุ่นเทียนเป็นรูปองค์พระตามที่ท่านกำหนด เป็นองค์ๆ ไป และวางเส้นยันต์ที่ฝั้นเป็นเส้นกลมๆ แบบเส้นขนมจีน นำมาวางเป็นเส้นยันต์ตามที่ท่านกำหนด องค์พระจึงไม่มีองค์ใดที่เหมือนกัน
รูปลักษณ์ของ พระปิดตาหลวงปู่จัน วัดโมลี
ลักษณะของเนื้อพระแร่บางไผ่นั้น จากการหลอมโลหะในสมัยนั้นจึงทำให้เนื้อโลหะจากแร่เหล็กไม่สามารถหลอมละลายเข้ากันได้อย่างดี อีกทั้งยังมีขี้แร่ผสมอยู่ในตัวเนื้อ แต่ก็เป็นเอกลักษณ์พิเศษในตัว ซึ่งจะปรากฏเส้นเสี้ยนในเนื้อพระที่เกิดขึ้นจากการหลอมแร่ ลักษณะคล้ายเสี้ยนตาลวิ่งสวนกันไปมาในบางจุด ซึ่งจะมีในพระแร่บางไผ่แท้ทุกองค์มากน้อยต่างกันไป พิจารณาได้จาก มีสนิมเหล็กสีแดงเกาะหุ้มหนาตลอดองค์ ตามซอกมุมลึกมักพบว่ามีเศษดินสีดำ ซึ่งเป็นดินเบ้า เนื่องจากไม่ได้ทำการพอกขี้วัว จึงพบว่าผิวองค์พระจะไม่เรียบตึง จะเป็นริ้วรอยย่นบ้าง เป็นจุดหรือรูพรุนบ้าง
พุทธคุณพระปิดตาหลวงปู่จัน วัดโมลี โดดเด่นด้านคงกระพัน มหาอุตม์ แคล้วคลาดอันตรายต่างๆ เมตตามหานิยม ปรากฏเส้นเสี้ยนเป็นขี้แร่ที่หลอมไล่ออกไม่หมด เป็นเส้นนูน บางองค์อาจจะไม่พบเสี้ยน แต่ถ้าส่องกล้องดูบริเวณรอยตัดของเศียรจะปรากฏว่าเสี้ยนหลบมุม ที่สำคัญพระปิดตารุ่นนี้ ดูดติดกับแม่เหล็ก
สำหรับตำนานที่เล่าสู่กันฟังในวันนี้ หวังว่าจะยิ่งทำให้เซียนพระทั้งหลายอยากมีไว้ครอบครองบูชา ด้วยความศักดิ์สิทธิ์แห่งพุทธคุณและเนื้อโลหะองค์พระที่ผ่านการปลุกเสก ส่องพระเครื่อง เมืองสยาม เชื่อว่าคุ้มค่ากับเงินล้านและการตามหามาไว้บูชา เพิ่มเติมจากนี้รับชมได้ที่
แหล่งที่มาของภาพ
https://siamrath.co.th/n/264279
http://boontoh-somdej.blogspot.com/2017/06/blog-post_85.html
พระเครื่อง ที่น่าสนใจ